ช่วงนี้กูดูอยู่ระหว่างเรียนปริญญาโทใบที่สอง ที่มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ระหว่างที่เรียนอยู่ทำให้นึกถึงทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา ชื่อว่าทฤษฎี Asymmetric Information หรือถ้าจะให้พูดเป็นภาษาไทยก็คือ “ทฤษฎีเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลที่ผู้ซื้อมีและที่ผู้ขายมี”
ทฤษฎี Asymmetric Information นี้สามารถส่งให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตลาด โดยอาจทำให้ตลาดล่ม (Market Failure) ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าเราลองเอาทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ตลาดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย จะทำให้เราได้เห็นอะไรน่าสนใจหลาย ๆ อย่าง และเข้าใจผลิตภัณฑ์การเงินหลายอย่างได้มากขึ้นอย่างดีทีเดียว
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Asymmetric Information นั้น ส่งผลให้เกิดอะไรขึ้น
กูดูอยากให้คิดเล่น ๆ ว่าถ้าวันนี้เรากำลังจะซื้ออะไรสักอย่าง เพื่อน ๆ คิดว่า เป็นไปได้ไหมที่ผู้รู้และผู้ขายจะมีความรู้ในสิ่งที่กำลังจะทำการซื้อขายอย่างเท่าเทียมกัน น่าจะเป็นไปได้อยากใช่ไหมครับ ไอ้ความแตกต่างของการมีข้อมูลตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดประเด็นที่เราจะต้องเอามาพิจารณาอยู่ 2 อย่าง คือ
1. Adverse Selection
เป็นลักษณะที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง มีข้อมูลน้อยกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยในวงการประกันนั้น มีแนวโน้มที่ตัวแทนประกันมีแนวโน้มที่จะรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์มากกว่าผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครอง แบบประกัน ค่านายหน้า แคมเปญจน์การตลาดของบริษัท ซึ่งหลาย ๆ อย่างเป็นข้อมูลแอบแฝงที่ตัวแทนประกันไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ลูกค้าไม่ได้สามารถรับทราบได้ทั้งหมด
กูดูอยากให้คิดต่ออีกสักนิดว่า ถ้าเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เป็นตัวแทนประกันขีวิต แล้วประกันแบบหนึ่งมีค่านายหน้า 35% กับอีกแบบหนึ่งมีค่านายหน้า 2% แต่ถ้าลำดับให้ดีแล้ว ลูกค้าเหมาะกับประกันแบบหลังมากกว่าแบบแรก ในฐานะตัวแทนเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จะตัดสินใจนำเสนอแบบไหน แหม่...เป็นเปอร์เซ็นต์อาจจะน้อยไป งั้นลองดูเป็นตัวเลขสักหน่อย ถ้าลูกค้าต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่ากันที่ 1 ล้านบาท ค่านายหน้าแบบแรก 350,000 บาท และค่านายหน้าแบบหลัง 20,000 บาท ระหว่างค่านายหน้า 350,000 กับ 20,000 บาท เพื่อน ๆ จะยังตัดสินใจนำเสนอแบบหลังอยู่ไหมครับ
2. Moral Hazard
ในมุมกลับกัน ในส่วนของลูกค้าที่ขอทำประกันก็มีข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง เช่น การเจ็บป่วย โรคประจำตัว นิสัยการกินและการใช้ชีวิตในอดีต ซึ่งทั้งหมดอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งลูกค้าก็อาจจะเลือกไม่เปิดเผยข้อมูลบางอย่างเช่นเดียวกั
นอกจากนี้ หลังจากทำประกันแล้ว ลูกค้าอาจเลือกที่จะใช้ชีวิตให้เสี่ยงกว่าเดิม ไม่ดูแลสุขภาพ เที่ยวกลางคืน ทำให้สุขภาพทรุดโทรม และเกิดการเรียกร้องสินไหมที่มากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้บริษัทประกันขาดทุนก็ได้ ซึ่ง Moral Hazard นี้ เกิดจากการขัดกันของเป้าหมายของผู้รับประกันและผู้ทำประกัน
จากที่ร่ำที่เรียนมา ทั้งสองปัญหาที่เล่าข้างต้นมีทางที่จะแก้ไข ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบจากทั้งสองอย่างได้ นั่นก็คือ “การส่งสัญญาณ (Signaling)” และ “การคัดกรอง (Screening)”
ในอีกมุมหนึ่ง บริษัทประกันสามารถออกแบบประกันที่คัดกรองกลุ่มลูกค้าได้ โดยการทำให้ประกันมี “ค่าความเสียหายส่วนแรก” หรือ Deductible การทำประกันแบบมีค่าความเสียหายส่วนแรกนั้น จะคัดกรองลูกค้าให้กับบริษัทประกันในเบื้องต้น โดยให้ลูกค้าเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเอง ยกตัวอย่างเช่น แบบประกัน Infinite Care ของบริษัท เอไอเอ จำกัด แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยแบบเหมา ๆ เรียกว่าสามารถซื้อแล้วเข้าโรงพยาบาลในไทยได้ชิว ๆ มีทุนประกันสำหรับค่ารักษาพยาบาลแบบเหมา ๆ 60 ล้านบาท (บางรายการแยกค่าห้อง) ถ้าป่วยเป็นมะเร็งก็สามารถเลือกรักษาแบบ Target Therapy ที่มีค่าใช้จ่ายสูงได้ ที่สำคัญคุ้มครองทั่วโลกไม่เฉพาะในประเทศไทย แถมมีวงเงินผู้ป่วยนอกให้ด้วยเบี้ยประกันแสนถูก ปกป้องกันให้แต็มที่
แบบประกันของเอไอเอตัวนี้มีการออกแบบประกันแบบ Infinite Care โดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ คือ การ Screening เพื่อช่วยในการคัดกรองลูกค้า โดยให้ลูกค้าวิเคราะห์ความเสี่ยงตัวเอง และสามารถเลือกประกันแบบที่ไม่มีค่าความเสียหายส่วนแรกหรือแบบที่มีค่าความเสียหายส่วนแรก 100,000 บาท และ 300,000 บาทก็ได้
ดังนั้น คนที่ดูแลสุขภาพดีสามารถเลือกทุนประกัน 60 ล้านบาท ที่มีค่าความเสียหายส่วนแรกได้ หากมีการดูแลสุขภาพที่ดี ผู้เอาประกันอาจะเลือกแบบมีค่าความเสียหาย 100,000 บาท หรือ 300,000 บาทได้โดยจ่ายเบี้ยถูกกว่าราคาแบบไม่มีค่าความเสียหายส่วนแรก 30-50% แต่หากผู้เอาประกันรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงด้านสุขภาพสูง ผู้เอาประกันก็จะขอเอาประกันภัยในแบบที่ไม่มีค่าความเสียหายส่วนแรก ซึ่งเบี้ยประกันแพงกว่า และแน่นอนว่าคนที่เลือกแบบมีค่าความเสียหายก็จะยังดูแลสุขภาพตัวเอง ลดปัญหาเรื่อง Moral Hazard ได้ตามหลักเศรษฐศาสตร์
เอ๊ะ!!! อย่างนี้บริษัทใหญ่ ๆ โกงผู้บริโภคหรือเปล่านะ??
คำตอบคือ ไม่ครับ ลองคิดดูนะครับ ถ้าบริษัทประกันมีเฉพาะแบบไม่มีค่าความเสียหายส่วนแรก อาจทำให้บริษัทประกันมีอัตราการเคลมสูง และเบี้ยประกันสูงขึ้นได้ในอนาคต แต่ถ้ามีการคัดกรองก่อน เบี้ยประกันของลูกค้าแต่ละกลุ่มก็จะยุติธรรมกับคนโดยรวมมากขึ้นครับ กล่าวคือ คนที่รักษาสุขภาพก็ได้เบี้ยถูก คนที่ไม่รักษาสุขภาพก็ได้เบี้ยแพง ซึ่งความยุติธรรมนี้ทำให้ตลาดอยู่ได้ และคนที่ดูแลสุขภาพก็ไม่เสียประโยชน์ ซึ่งจริง ๆ หลักการนี้ก็ปรับใช้ได้กับประกันทุกแบบไม่เฉพาะแบบนี้นะครับ แปลว่าอะไร คิดเล่น ๆ ก็คือ ประกันควรมีเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับความคุ้มครองและอัตราการเคลมครับ
เป็นยังไงบ้างครับ กับการเอาทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ตลาดประกัน สรุปง่าย ๆ เลยละกันครับ ถ้าอยากทำประกัน อยากให้ลองพิจารณาทำกับตัวแทนที่ยินดีให้ข้อมูลและไว้ใจได้ เห็นประโยชน์ของเรามากกว่าของตัวเอง ถ้าหาใครไม่เจอก็เจ้ฮวยเลยครับ คลิกลิงค์ได้เลยจ้า