บัตรพลาสติก สภาพคล่องยามจำเป็น : บัตรเครดิต VS บัตรกดเงินสด
ในช่วงชีวิตของแต่ละคน กูดูเชื่อว่าเราจะต้องผ่านวิกฤติมากมายในชีวิต ทั้งวิกฤติเศรษกิจ แบบช่วงหยุดเชื้อเพื่อชาติ ป้องกันการติดโควิดแบบนี้ หรือแม้แต่วิกฤติของครอบครัว เช่น อุบัติเหตุ หรือ คนในครอบครัวเจ็บป่วยกระทันหัน หากใครมีการเตรียมการที่ดี หรือสามารถบริหารกระแสเงินสดได้ดี ย่อมจะทำให้เราผ่านวิกฤติไปได้โดยบอบช้ำน้อยที่สุด หรือจะให้ดีคือไม่บอบช้ำเลย
กูดูเชื่อว่าคนที่สนใจเรื่องการบริหารเงินทุกคนต้องรู้จักพีระมิดทางการเงิน และแน่นอนต้องรู้ว่าฐานของพีระมิดประกอบด้วย “การบริหารกระแสเงินสด” และ “การบริหารความเสี่ยง” หากคุยกับนักวางแผนการเงิน กูดูเชื่อว่านักวางแผนการเงินจะแนะนำให้เราบริหารความเสี่ยงด้วย “ประกันชีวิต” ซึ่งกูดูเองก็เชื่อว่าเป็นทางที่ดีที่สุด
แต่จริง ๆ แล้ว หากใครไม่ชอบทำประกัน ก็สามารถบริหารจัดการฐานที่เป็น “กระแสเงินสด” เพื่อเป็นสภาพคล่องยามฉุกเฉินได้เช่นกัน หากพูดแบบนี้ คนส่วนใหญ่อาจกำลังคิดว่ากูดูจะให้เก็บเงินสดเพิ่ม
เปล่าเลยครับ... จริง ๆ แล้วมีอีกทางหนึ่งที่เราสามารถสร้างกระแสเงินสดไว้ใช้ยามจำเป็น เช่น การเจ็บป่วยที่ไม่หนักหนาสาหัสมาก ซึ่งอาจทำให้เราช๊อตในช่วงสั้น ๆ ได้
ทางนั้น คือ บัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด
สองบัตรนี้มีความแตกต่างกันอยู่นิดหน่อยครับ
1. บัตรเครดิต
บัตรเครดิตเป็นบัตรที่อนุญาตให้เรายืม “เงินของแบงค์” มาใช้ก่อนแบบที่ไม่คิดดอกเบี้ยถ้าเราใช้เงินคืนตามกำหนด โดยการยืมเงินแบบนี้จะมุ่งเน้นการใช้เงินผ่านบัตรเป็นหลัก หากมีการกดเงินสดออกมาจากบัตรเครดิต คนที่กดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินครับ เมื่อจบรอบบิล หากเราไม่สามารถชำระเงินที่ยืมมาได้ทั้งหมด เราสามารถผ่อนชำระขั้นต่ำได้ แต่เราจะถูกคิดดอกเบี้ยครับ โดยปกติแล้ว บัตรเครดิตจะมุ่งเน้นไปที่คนมีรายได้สูงกว่าบัตรกดเงินสดครับ
2. บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดเป็นบัตรที่มีวงเงินเอาไว้ให้เรากู้มาใช้ แต่เมื่อไรก็ตามที่เรากดเอาเงินสดออกมา เราจะเริ่มถูกคิดดอกเบี้ยทันทีครับ โดยดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดนั้น หากเทียบกับบัตรเครดิตแล้วปกติดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัตรเครดิต แต่ข้อดีคือ ตอนที่กดเงินออกมาแม้จะถูกคิดดอกเบี้ยเลย แต่ไม่เสียค่าธรรมเนียมเหมือนการกดเงินสดจากบัตรเครดิต ซึ่งบัตรกดเงินสดนี้ ผู้ใช้สามารถผ่อนใช้ได้โดยยอดชำระขั้นต่ำ จะน้อยกว่าบัตรเครดิต
เพื่อให้เห็นภาพชัด กูดูจะขออนุญาตหยิบบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดยี่ห้อ KTC มาเปรียบเทียบกันให้ดูตามตารางนี้ครับ
|
บัตรเครดิต KTC VISA Platinum
|
บัตรกดเงินสด KTC Proud
|
อัตราดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียม
|
18%
|
20% - 28%
|
ค่าธรรมเนียมกดเงินสด
|
3% ของยอดเบิกถอน
|
ไม่มี
|
ผ่อนชำระขั้นต่ำ
|
10% ของยอดเรียกเก็บ
|
3% ของยอดคงค้าง
|
การคิดดอกเบี้ย
|
คิดต่อเมื่อชำระหนี้ไม่เต็มยอดที่ใช้ คำนวณจากวันบันทึกรายการ
|
ทันทีที่ใช้วงเงิน
|
เงินเดือนขั้นต่ำที่สมัครได้
|
15,000 บ ขึ้นไป
|
งานประจำ 12,000 บ ขึ้นไป
|
สนใจสมัคร
|
|
|
หากมองแบบนี้แล้ว ในวันที่สภาพคล่องที่เราเอาไว้กินหรือใช้หมด กูดูว่าบัตรเครดิตเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่า แต่หากบัตรเครดิตเต็มวงแล้วยังจำเป็นต้องใช้เงิน เพราะการพกบัตรกดเงินสดไว้นั้นเป็นวงเงินฉุกเฉินพร้อมใช้ยามจำเป็น ดีกว่าการกู้แกงค์หมวกกันน็อคเป็นไหน ๆ เรียกได้ว่าใช้ต่างกรรมต่างวาระ
ดังนั้น หากให้กูดูเลือก กูดูจะเลือกสมัครทั้งบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด และเมื่อสมัครแล้วจะเก็บบัตรเครดิตไว้กับตัว และเก็บบัตรกดเงินสดไว้ที่บ้าน เพื่อที่กูดูจะ “ไม่เผลอใจ” หยิบบัตรกดเงินสดมาใช้ให้เสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น อย่างน้อยก็มีวงเงินกู้เผื่อเรียกได้ตลอดเวลา เพราะถึงเวลาที่เราต้องใช้ วันนั้นอาจจะสมัครไม่ทันแล้วก็ได้
ในบทความหน้า กูดูจะมาเปรียบเทียบการทำประกัน กับการใช้บัตรพลาสติก และการสำรองเงิน ฝากติดตามด้วยนะครับ
สนใจสั่งซื้อประกัน
แสดงรายการ